การสร้างวัดพุทธประทับ ณ ม่อนป่าซาง บ.ห้วยข่อย ต.วังเหนือ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง
การสร้างวัดพุทธประทับ เริ่มต้นจากคณะผู้มีจิตศรัทธา 5 ท่าน (คณะกรรมการฯ รุ่นก่อตั้ง) ได้อธิษฐานจิตกระทำตามเจตนารมณ์ของพระธุดงค์หลายยุคหลายสมัยในอดีต ที่ประสงค์จะสร้างวัดขึ้นบนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ม่อนป่าซาง (เขาป่าไผ่) บ.ห้วยข่อย ม.3 ต.วังเหนือ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง และได้ดำเนินการเพื่อสร้างวัดอย่างต่อเนื่องมาตามลำดับดังต่อไปนี้ (ข้อมูล ณ.ปี 2557)
เจตนารมณ์สร้างวัด ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว
6 ก.ค. 2553 คณะผู้มีจิตศรัทธาชุดแรก 5 ท่าน วางมัดจำเพื่อซื้อที่ดินสร้างวัด 15 ไร่ เป็นเงิน 5,000 บาท โดยมีราคาที่ดินทั้งหมด 135,000 บาท
21 ก.ค. 2553 เริ่มจัดตั้งคณะกรรมการสร้างวัดชุดแรกจำนวน 8 ท่าน และได้รับปัจจัยร่วมทำบุญเพื่อจัดซื้อที่ดินสร้างวัดที่ค้างชำระอยู่จำนวน 130,000 บาท ครบถ้วน
30 ก.ย. 2553 ได้ดำเนินการชำระค่าที่ดินสร้างวัดที่ค้างชำระอยู่จำนวน 130,000 บาท ครบถ้วน และได้รับผู้เข้าร่วมเป็นกรรมการสร้างวัดเพิ่มอีก 2 ท่าน
9-12 ก.ค. 2554 ผู้แทนคณะกรรมการสร้างวัด ได้เข้านมัสการพระราชจินดานายก เจ้าคณะจังหวัดลำปาง และพระครูวรธรรมานุสิต เจ้าคณะอำเภอวังเหนือ ชั้นพิเศษ เพื่อขออนุญาตสร้างวัดพุทธประทับ
30 ม.ค. 2556 ได้จัดซื้อที่ดินเพิ่มเติมจำนวน 5 ไร่ ในราคา 55,000 บาท และได้ชำระค่าที่ดินครบถ้วนแล้ว เพื่อจัดสร้างที่พักสงฆ์ แม่ชี และผู้ปฏิบัติธรรม ชาย-หญิง
6 ก.พ และ 10 เม.ย. 2556 ได้ชำระค่าใช้จ่ายจำนวน 80,000 บาท เพื่อการขยายถนน 1.5–2 กม. ปรับพื้นที่ และเตรียมปลูกป่ารอบบริเวณวัด พื้นที่ 20 ไร่ พร้อมทั้งทำป้ายชื่อวัด จำนวน 2 ป้าย ราคา 12,000 บาท และได้รับผู้เข้าร่วมเป็นกรรมการสร้างวัดเพิ่มอีก 2 ท่าน
12 พ.ค. 2556 ทำพิธีบิณฑบาตวิญญาณและทำบุญเลี้ยงพระด้วยงบประมาณ 30,000 บาท พร้อมทั้งทำพิธีบวงสรวงเพื่อขออนุญาตสร้างวัด ด้วยงบประมาณ 40,000 บาท
5 มิ.ย. - 3 ก.ค. 2556 สร้างกุฏิท่านเจ้าอาวาสวัด 2 ห้อง และศาลาชั่วคราวด้านหน้ากุฏิ ด้วยงบประมาณ 350,000 บาท โดยมีพื้นที่รวมประมาณ 110 ตร.ม. (ค้างชำระอยู่ 50,000 บาท) ยังไม่เสร็จ 23-4-57
10 ต.ค. 2556 ปลูกต้นไม้บนพื้นที่วัด แปลงที่ 1 เนื้อที่ 15 ไร่ ด้วยงบประมาณ 10,700 บาท
เจตนารมณ์สร้างวัด ที่จะต้องดำเนินการต่อไปในอนาคต
1) สร้างศาลาที่ค้างให้เสร็จ
2) ทอดผ้าป่า ปลายปี 2560 หลังศาลาเสร็จแล้ว เพื่อหาปัจจัยพัฒนาวัดฯ ต่อไป
3) ปรับปรุงถนน ทางขึ้นวัดฯ และถนนในเขตวัดฯ
4) สร้างกุฏิพระเพิ่มอีก 1 หลัง
5) สร้างที่พักฆราวาสชายรวม และสร้างที่พักฆราวาสหญิงรวม
6) ช่วยกันสร้างพระเจดีย์ บนเขาม่อนป่าซาง
แผนผังการสร้างวัด

แนวทางการจัดตั้งวัดตามระเบียบของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ให้เริ่มต้นโดยจัดตั้งเป็นที่พักสงฆ์ เมื่อมีพระสงฆ์จำพรรษา ณ ที่พักสงฆ์ เป็นจำนวน 5 รูป ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 5 ปี จึงจะยกระดับเป็นสำนักสงฆ์ และถ้ามีพระสงฆ์จำพรรษา ณ สำนักสงฆ์ เป็นจำนวน 5 รูป ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 5 ปี จึงจะยกระดับเป็นวัดตามระเบียบของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ความสำคัญของสถานที่
บนยอดเขาที่สูงสุดของม่อนป่าซางและอยู่ห่างจากพื้นที่แปลงที่ 1 ซึ่งจะสร้างพระอุโบสถและวิหารเทพของวัดพุทธประทับประมาณ 300 เมตร มีสภาพเป็นป่าค่อนข้างสมบูรณ์มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่โดยทั่วไป พบว่ามีซากพระเจดีย์เก่ามีอายุหลายร้อยปีอยู่ภายใต้ต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง และจากคำบอกเล่าของชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งไปทำพิธีบวงสรวงสักการะพระเจดีย์เป็นประจำทุกปี เชื่อว่าเป็นพระเจดีย์ที่สร้างโดยพญามังรายเจ้าเมืองเชียงราย และพ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัย ซึ่งเรื่องนี้จะต้องรอการพิสูจน์ให้เห็นประจักษ์โดยกรมศิลปากรต่อไป
รายนามของผู้ร่วมเป็นคณะกรรมการสร้างวัดพุทธประทับ
พระอาจารย์มหาเที่ยง ปสาโท วัดเขาวังราชบุรี |
ประธานฯ ฝ่ายสงฆ์ |
พระอาจารย์มหาประสาน โชติโก วัดเขาวังราชบุรี |
ที่ปรึกษา |
นางกอบแก้ว อัครคุปต์ |
ประธานฯ ฝ่ายฆราวาส (อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงวิทย์ฯ) |
นายจักรศลย์ กิฎามร |
รองประธานฯ (อดีตข้าราชการกรมศุลกากร) |
นายจำนงค์ คิดอ่าน |
กรรมการ (ผู้จัดการ การไฟฟ้าภูมิภาค สาขาดอยตุง) |
นายประดิษฐ์เดช ศักดิเดชอุดม |
กรรมการ |
นายศรีวิบูลย์ พรบุญบานเย็น |
กรรมการ |
นายเจนจัด มุสิกบุตร |
กรรมการ |
นางสุภาษิณี สมบัติทวี |
กรรมการ (ผอ. สำนักบริหารมาตรฐานระหว่างประเทศ สมอ.) |
นายเจริญภพ พรวิริยางกูร |
กรรมการและเลขานุการ (กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่) |
|
|
|
|
คำอธิบายตราวัดพุทธประทับ

- มีรูปพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ในรูปปางสมาธิ ประทับอยู่บนฐานดอกบัวหงาย เพื่อแสดงถึงว่าสถานที่สร้างวัดนี้ได้มีพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับแล้ว 4 พระองค์ และในอนาคตพระศรีอาริยะเมตไตรย์จะเสด็จมาประทับอีก 1 พระองค์ รวมเป็น 5 พระองค์
- มีรูปต้นโพธิ์หรือใบโพธิ์ อยู่ด้านหลังองค์พระพุทธเจ้า แสดงถึงการตรัสรู้ธรรม
- มีดอกบัวที่มีกลีบหลายชั้น ซ้อนกันอยู่กลางองค์พระแสดงถึงการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง 4 พระองค์ และในอนาคตพระศรีอาริยะเมตไตรย์จะเสด็จมาตรัสรู้อีก 1 พระองค์ รวมเป็น 5 พระองค์
- โดยรอบตราวัดจะแสดงถึงสถานที่ตั้งวัดพุทธประทับว่าอยู่ที่ ม่อนป่าซาง ต.วังเหนือ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง ซึ่งการใช้ม่อนป่าซาง เพื่อแสดงถึงชื่อสถานที่ตามภาษาท้องถิ่น และประดับด้วยเครื่องหมายมหาอุจจ์ ทั้งสองข้าง
- ลักษณะของตราวัดและสัญลักษณ์ต่างๆ แสดงในลักษณะที่เป็นสากล เพื่อวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่วัดพุทธประทับและหลักธรรมของพระพุทธเจ้าไปสู่ต่างประเทศ และทั่วโลกในอนาคตต่อไป ดังนั้นรูปตราและสัญลักษณ์จึงอาจดูแข็งๆ และขาดความเป็นไทยไปบ้าง